นับวันสภาวะการแข่งขันในธุรกิจต่างๆ จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งจากจำนวนคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนขึ้นมา และจากการที่แต่ละกิจการ มีการพัฒนาความสามารถของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากองค์กรใด ที่ต้องการอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันดังกล่าว องค์กรนั้นจะต้องพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถทางการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง โดยจะต้องประกอบไปด้วย
1. Efficiency
2. Quality
3. Customer Satisfaction
4. Innovation

ก่อนที่จะไปดูว่า Value Chain ช่วยให้เกิด Competitive Advantage ได้อย่างไรนั้น ขอให้เข้าใจก่อนว่า Competitive Advantage หมายถึงอะไร

Competitive Advantage หมายถึง ความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่ง Michael E. Porter ได้แบ่งออกเป็น 3 กลยุทธ์ ได้แก่
1. Differentiation
2. Cost Leadership
3. Focus

หากองค์กรใดไม่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่โดดเด่นได้ องค์กรนั้นจะติดอยู่ตรงกลาง (Stuck in the Middle) คือ ไม่มีกลยุทธ์อะไรที่โดดเด่นกว่าองค์กรอื่น

นอกจากนี้ความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนได้ (Sustainable) จะต้องรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้
1. Quality สร้างสรรค์สินค้า/บริการที่มีคุณภาพ
2. Customer Satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
3. Efficiency ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
4. Innovation มีนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างสรรค์สิ่งใหม่


การนำ Value Chain มาใช้ให้เกิด Competitive Advantage ด้านการเป็นผู้นำต้นทุน (Cost Leadership) หรือด้านการเป็นผู้นำความแตกต่าง (Differentiation)
ในกระบวนการทำ Value Chain นั้น เราจะพิจารณาในแต่ละกิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า ว่ามีกิจกรรมใดที่สามารถช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กรได้บ้าง เช่น 1.) ในกิจกรรม Inbound Logistics อาจจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวัตถุดิบคงค้างจนหมดอายุในสต๊อกสินค้า, การออกแบบคลังสินค้าให้สามารถจัดเก็บสินค้าได้ในปริมาณมากๆ เพื่อประหยัดพื้นที่, การนำอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้ามาใช้จะช่วยให้เกิดการขนส่งวัตถุดิบได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น 2.) ในกิจกรรม Operations ก็อาจจะนำระบบสายพาน มาช่วยให้สามารถเคลื่อนสินค้าระหว่างผลิตไปยังกระบวนการถัดไปได้รวดเร็วขึ้น ช่วยลดระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตให้สั้นลง 3.) Outbound Logistics อาจนำระบบ Barcode หรือ RFID มาช่วยในการจัดการสินค้า เพื่อให้สามารถติดตามค้นหาสินค้าได้ง่ายขึ้น รวดเร็วมากยิ่งขึ้น 4.) Marketing & Sales ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของอินเตอร์เน็ต มาช่วยในการโปรโมทสินค้า/บริการ .... เป็นต้น






Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการแปลง Vision/Mission/Strategies แล้วกระจาย(Deploy) ลงไปสู่การปฏิบัติ โดยมีส่วนที่แตกต่างจากเครื่องมืออื่นตรงที่... เครื่องมือ BSC ให้พิจารณามุมมอง 4 ด้าน ได้แก่ มุมมองทางด้านการเงิน (Financial Perspective), มุมมองทางด้านลูกค้า (Customet Perspective), มุมมองทางด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองทางด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning & Growth Perspective) นอกจากนี้ BSC ยังโดดเด่นในเรื่องของการเชื่อมโยง หรือแสดงความสัมพันธ์กันของมุมมองทั้ง 4 ด้าน ในเชิงเหตุและผล แล้วแสดงออกมาเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรมีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และที่สำคัญคือ มีความสอดคล้องสนับสนุนกันทั้งองค์กร มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน โดยจะมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างคร่าวๆดังนี้


จาก Vision/Mission ขององค์กร นำมาสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสม จากนั้นสร้างความเชื่อมโยงแบบมีเหตุมีผลของแต่ละกลยุทธ์ในแต่ละมุมมอง แปลงออกมาสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดเป็น Objectives --> Measures (KPI) --> Targets --> Initiatives กระจายลงไปให้ทุกคนในองค์กรดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้ร่วมกันนี้ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันทั้งหมด

โดย Objectives นั้นให้ระบุวัตถุประสงค์ว่าทำไปเพื่ออะไร
Measures (KPI) กำหนดวิธีการวัดผล
Targets กำหนดเป้าหมาย
Initiatives กำหนดการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้




top